: : ยินดีต้อนรับเข้าสู่สถานปฏิบัติธรรม กับธรรมชาติที่สัปปายะ สงบ สะอาด ป่าไม้ ถ้ำ และภูเขา บนเนื้อที่ ๘๐ ไร่ ..วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ อ.พาน จ.เชียงราย โทร.053 184 325
 

มานัต-อัพภาน

มานัต
มานัต คือ ระเบียบปฏิบัติในการออกจากครุกาบัติ หมายถึง นับราตรี การนับราตรี ซึ่งการนับราตรี หรือมานัตนั้นเป็นเงื่อนไขต่อจากการประพฤติปริวาสของภิกษุผู้อยู่กรรม เมื่ออยู่ปริวาส ๓ ราตรี หรือตามที่ี่คณะสงฆ์กำหนดแล้ว เมื่อคณะสงฆ์พิจารณาว่า ปริวาส ที่ภิกษุประพฤตินั้นบริสุทธิ์ ในการพิจารณาของสงฆ์แล้วสงฆ์ก็จะเรียกผู้ประประพฤติปริวาสนั้นว่า“มานัตตารหภิกษุ” แปลว่า" ภิกษุผู้ควรแก่มานัต”  

มานัต หรือการนับราตรีนั้นได้แก่การนับราตรี ๖ ราตรีเป็นอย่างน้อย ซึ่งเกินกว่านี้ไม่เป็นไร แต่ถ้าน้อยกว่า ๖ ราตรีไม่ได้ ซึ่งเป็นพระวินัยกำหนดไว้เช่นนั้น ซึ่งการนับราตรีของ มานัต นั้น ก็มีเงื่อนไขที่ทำให้นับราตรีไม่ได้เช่นกัน เรียกว่า การขาดแห่งราตรี หรือ การนับราตรีเป็นโมฆะ ซึ่งการนับราตรีไม่ได้นี้เรียกว่า "รัตติเฉท"

เงื่อนไขที่ทำให้นับราตรีไม่ได้สำหรับมานัตมีด้วยกัน ๔ อย่าง คือ

  1. สหวาโส   คือ  การอยู่ร่วม
  2. วิปปวาโส คือ  การอยู่ปราศ
  3. อนาโรจนา คือ การไม่บอกวัตรที่ประพฤติ
  4. อูเน คเณ จรณํ  คือ การประพฤติวัตรในคณะอันพร่อง

สหวาโส คือ การอยู่ร่วม มีข้อกำหนดเหมือนปริวาสไม่มีข้อแตกต่างกัน

วิปปวาโส คือ การอยู่ปราศ หรือ อยู่ในถิ่นอาวาสที่ไม่มีสงฆ์อยู่เป็นเพื่อน ในส่วนข้อนี้มีความแตกต่างตรงที่การประพฤติปริวาสนั้นจะสมาทานประพฤติวัตร กับคณะสงฆ์อาจารย์กรรมรูปเดียวก็ได้ แต่มานัตนั้นต้องสมาทานกับสงฆ์ตั้งแต่ ๔ รูป ขึ้นไป หรือในกรณีที่ภิกษุผู้ประพฤติปริวาสเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยอาพาธขึ้น ในระหว่างมานัต จำต้องไปพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ก็ต้องมีสงฆ์อย่างน้อย ๔ รูป ไปเฝ้าไข้ ซึ่ึ่งถ้าไม่ทำเช่นนั้นก็ต้องอนุญาตให้ไปรักษาอาพาธนั้นให้หายเป็นปกติก่อน เมื่อหายเป็นปกติแล้วให้ภิกษุนั้นกลับมาสมาทานวัตรเพียงรูปเดียวในภายหลัง (แต่ถ้าเก็บวัตรแล้วก็ไม่เป็นไร) ส่วนการบอกวัตรนั้น ถ้าบอกเป็นครั้งแรกในวันนั้นต้องบอกกับสงฆ์หมดทุกรูปแต่ถ้าการบอกวัตรนั้น เป็นการบอกครั้งที่สองไม่ต้องบอกหมด ทุกรูป ยกเว้นเมื่อบอกวัตรไปแล้วในขณะนั้น แต่ชั่วครู่นั้น มีพระอาคันตุกะแวะเวียนเข้ามา การบอกวัตรครั้งที่สองนี้จะบอกเดี่ยวสำหรับพระอาคันตุกะ หรือจะบอกเป็นสงฆ์ก็ได้ขึ้นอยู่ที่คณะสงฆ์พระอาจารย์กรรมกำหนดซึ่งถ้าบอกเป็นสงฆ์ ก็ต้องหาพระอาจารย์กรรมรวมทั้งพระอาคันตุกะนั้น ให้ครบองค์สงฆ์ คือ ๔ รูป แต่ส่วนมากจะบอกเดี่ยวเพื่อความสะดวกรวดเร็ว

 
   

อนาโรจนา คือ การไม่บอกวัตรที่ประพฤติ ซึ่งการประพฤติมานัตนั้นจะต้องบอกวัตรทุกวัน ไม่บอกไม่ได้ แตกต่างกับปริวาสซึ่งจะบอกก็ได้ไม่
บอกก็ได้ เพราะอยู่ปริวาสนั้นบอกวัตรครั้งเดียวแล้วอยู่ต่อไปอีกสามวันโดยที่ไม่บอกอีกก็ได้ ทั้งนี้หมายความว่าจะต้องไม่ทำผิดกฏข้ออื่น ๆ อีก


อูเน คเณ จรณํ  คือ การประพฤติวัตรในคณะอันพร่อง หมายถึง การประพฤติวัตรของพระมานัตในที่ที่มีสงฆ์ไม่ครบ ๔ รูปตามพระวินัยกำหนด
เช่นนี้ถือว่า ประพฤติวัตรในคณะอันพร่องซึ่งจะทำให้การนับราตรีเป็นโมฆะ นับราตรีไม่ได้


มานัตหรือการนับราตรีนั้น มีอยู่ ๔ อย่าง คือ

  • อัปปฏิจฉันนมานัต คือ เป็นมานัตที่ภิกษุไม่ต้องอยู่ปริวาส สามารถขอมานัตได้เลย ยกเว้นพวกเดียรถีย์ต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน
  • ปฏิฉันนมานัต คือ มานัตที่ให้แก่ภิกษุผู้ปิดอาบัติไว้ หรือมิได้ปิดไว้ก็ตาม
  • ปักขมานัต คือ มานัตที่ให้แก่ภิกษุณี ๑๕ ราตรีเท่านั้น(ครึ่งปักษ์) จะปิดอาบัติไว้หรือมิได้ปิดไว้ก็ตาม
  • สโมธานมานัต คือ มานัตที่มีไว้เพื่ออาบัติที่ประมวลเข้าด้วยกัน อันเนื่องมาจากสโมธานปริวาสนั้น ซึ่งสโมธานมานัตนี้เป็นมานัตที่สงฆ์นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน
   

อัพภาณ
อัพภาน คือ การที่สงฆ์เรียกเข้าหมู่ หรือการที่ภิกษุท่านได้ชำระสิกขาบทที่ได้ทำให้ตนมัวหมองจนผ่านขั้นตอนการอยู่ประพฤติปริวาส การขอมานัต นับราตรีจนครบกระบวนการขั้นตอนของการประพฤติวุฏฐานวิธีตามที่พระวินัยกำหนด จนมาถึงขั้นตอนสุดท้ายคือ สงฆ์เรียกภิกษุนั้นเข้าหมู่แห่งสงฆ์เป็นสงฆ์ปกติจึงเป็นการให้ อัพภาน

ซึ่งการให้ อัพภาน นี้ พระวินัยกำหนดให้สงฆ์สวดเรียกเข้าหมู่โดยต้องใช้สงฆ์สวดจำนวน ๒๐ รูป ขึ้นไป เมื่อสงฆ์ ๒๐ รูป ทำสังฆกรรมสวดเรียกเข้าหมู่ให้แล้ว ก็ถือเป็นสิ้นสุดกระบวนการประพฤติวุฏฐานวีธี ในทางพระวินัย ภิกษุนั้นๆ ก็เป็นภิกษุ ุผู้บริสุทธิ์ เป็น “ปริสุทโธ”         

การกำหนดองค์สงฆ์ที่ต้องทำกรรมในการประพฤติวุฏฐานวิธี
มี ๒ ประเภท คือ

  1. จตุวรรคสงฆ์ มีจำนวน ๔ รูป (หรือ ๕ รูปรวมองค์สวด)ให้ปริวาส ให้มานัต ให้ปฏิกัสสนาฯ
  2. วีสติวรรคสงฆ์ มีจำนวน ๒๐ รูป(๒๑ รวมองค์สวด)ให้อัพภาน

วิธีการสวดให้ปริวาส และ อัพภาน มีอยู่ ๓ วิธี คือ

  1. วิธีการขอหมู่-สวดหมู่
    ซึ่งการขอหมู่-สวดหมู่ ก็คือภิกษุผู้ประสงค์อยู่ประพฤติปริวาส ได้สวดขอปริวาส มานัต และอัพภาน ซึ่งภิกษุที่ขอหมู่ก็คือ สงฆ์อนุญาตให้ภิกษุเข้าสวดขอปริวาสพร้อมกันครั้งละ ๓ รูป ส่วนคณะสงฆ์อาจารย์กรรมนั้นต้องใช้จำนวนสงฆ์ทั้งหมด ๕ รูป รวมองค์สวด (และ ๒๑ รูป กรณีให้อัพภาน)
  2. วิธีการขอหมู่-สวดเดี่ยว
    ซึ่งก็คือ ภิกษุผู้ประสงค์อยู่ประพฤติปริวาส ได้สวดขอปริวาส มานัตและอัพภาน    ซึ่งสงฆ์อนุญาตให้ภิกษุเข้าขอปริวาสพร้อมกันครั้งละ ๓ รูป แต่ให้สวดครั้งละหนึ่งรูป คือสวดองค์เดียวเดี่ยวๆ ส่วนคณะสงฆ์อาจารย์กรรมนั้นต้องใช้จำนวนสงฆ์ทั้งหมด ๕ รูป รวมองค์สวด (และ ๒๑ รูป กรณีให้อัพภาน)
  3. วิธีการขอเดี่ยว-สวดเดี่ยว
    ก็คือสงฆ์อนุญาตให้ภิกษุเข้าขอปริวาสครั้งละ ๑ รูป และให้สวดครั้งละหนึ่งรูป      คือสวดองค์เดียวเดี่ยวๆ ส่วนคณะสงฆ์อาจารย์กรรมนั้นต้องใช้จำนวนสงฆ์ทั้งหมด ๕ รูป รวมองค์สวด (และ ๒๑ รูป กรณีให้อัพภาน)
   

 

 

ระเบียบขั้นตอนการประพฤติวุฒฐานวิธี
 

 

๒.ความหมายของปริวาส
ประเภทของปริวาสกรรม
ปริวาสสำหรับสงฆ์-คฤหัสถ์
ขั้นตอนการประพฤติวุฒฐานวิธี

อ่านต่อ >>

๓.ประเภทของปริวาส
อัปปฏิฉันนปริวาส
ปฏิฉันนปริวาส
สโมธานปริวาส
สุทธันตปริวาส
 
อ่านต่อ >>
 
   
 
 
 
   
๔.เงื่อนไขของปริวาส
รัตติเฉท-วตตเภท
สหวาโส-วิปวาโส
อนาโรจนา
อ่านต่อ >>
๕.วัตร..บอกวัดร-เก็บวัตร
การสมาทานวัตร
การบอกวัตร
การเก็บวัตร
อ่านต่อ >>
 
   
 
   
 
 
๖.ขึ้นมานัต
สหวาโส -วิปปวาโส
อนาโรจนา-อูเน คเณ จรณํ
การขอหมู่-สวดหมู่
การขอหมู่-สวดเดี่ยว
การขอเดี่ยว-สวดเดี่ยว

อ่านต่อ>>
๗.คำขอปริวาสกรรม
คำขอสุทธันตะอย่างจุลสุทธันตะ
กรรมวาจาให้สุทธันตปริวาส

คำสมาทานปริวาส
คำบอกสุทธันตปริวาส
การเก็บปริวาส
อ่านต่อ >>
 
   
 
 
 
   
๘.การขอมานัต
คำขอสุทธันตขอมานัต
กรรมวาจาให้มานัต
คำสมาทานมานัต
คำบอกมานัต
คำเก็บมานัต

อ่านต่อ >>
๙.การขออัพภาน
คำขออัพภาน
กรรมวาจาให้อัพภาน

อ่านต่อ>>
 
   

 
 

ภาพกิจกรรมภายในวัด
หลวงพ่อถวิล จนฺทสโร เมตตานำพระภิกษุสงฆ์ รับบิณฑบาตจากอุบาสก-อุบาสิกา ทุกเช้าภายในวัด เวลา ๐๗.๕๐ น.
อ่านต่อ>>

ภัตตาหาร-น้ำปานะบริการ..ฟรี
มีภัตตาหารถวายพระ
และบริการญาติธรรม
ตลอดงานปฏิบัติธรรม
อ่านต่อ>>
 
   
 
 
 
   

แทนปักกลด ๒๐๐ แท่น
มีแท่นปูนสำหรับให้พระภิกษุสงฆ์ปักกลด
เพื่อป้องกันน้ำฝนไหลเข้าเต้นท์ที่พัก
อ่านต่อ>>

อาคารที่พักญาติธรรม
มีอาคารที่พักของญาติธรรม ที่ไปร่วมปฏิบัติธรรมแยกต่างหากเป็นสัดส่วน
ห้องน้ำ-ห้องสุขา

มีห้องน้ำ-ห้องสุขาภายในวัดประมาณ ๑๐๐ ห้อง สะอาด สดวก ปลอดภัย อ่านต่อ>>
 
   
 
ชมภาพการปฏิบัติธรรม  
 













            
วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ
ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ ประจำจังหวัดเชียงราย
ศูนย์พัฒนาคุณธรรม-จริยธรรมประจำจังหวัดเชียงราย
๓๙๕ หมู่ ๑๑ ตำบลธารทอง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ๕๗๒๕๐
โทรศัพท์ (๐๕๓)๑๘๔ ๓๒๕ โทรสาร (๐๕๓)๑๘๔ ๓๒๕

website : www.watthumpra.com
email : watthumprachiangrai@gmail.com