: : ยินดีต้อนรับเข้าสู่สถานปฏิบัติธรรม กับธรรมชาติที่สัปปายะ สงบ สะอาด ป่าไม้ ถ้ำ และภูเขา บนเนื้อที่ ๘๐ ไร่ ..วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ อ.พาน จ.เชียงราย โทร.053 184 325
 

เงื่อนไขปริวาสแต่ละประเภท

การอยู่ประพฤติปริวาสทุกประเภท มีเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติ เงื่อนไขเหล่านั้นมีสาเหตุมาจากเหตุใดบ้าง มีดังต่อไปนี้

  • รัตติเฉท”
    “รัตติเฉท” คือ เหตุที่ทำให้ขาดราตรีของปริวาสิก ภิกษุผู้ประพฤติปริวาสเมื่อราตรีขาด ก็ต้องเสียเวลาในการประพฤติปริวาสไปโดยเปล่าประโยชน์ ขณะที่อยู่ประพฤติปริวาส มีเงื่อนไขที่ทำให้การอยู่ประพฤติปริวาส ของภิกษุนั้นเป็นโมฆะ นับราตรีไม่ได้ ดังนั้นภิกษุผู้อยู่ประพฤติปริวาสควรต้องทำตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด เพื่อประโยชน์แก่ตนเอง ซึ่งเรียกว่า "รัตติเฉท"  มี ๓  กรณีด้วยกันดังนี้
    ๑. สหวาโส  แปลว่า  การอยู่ร่วม
    ๒. วิปวาโส  แปลว่า  การอยู่ปราศ
    ๓. อนาโรจนา แปลว่า  การไม่บอกวัตรที่ประพฤติ

  • “วัตตเภท”
    “วัตตเภท” แปลความว่า ความแตกต่างแห่งวัตร หรือ ความแตกต่างแห่งข้อปฏิบัติ ในขณะอยู่ประพฤติปริวาส คือ ทำให้วัตรมัีวหมองด่างพร้อย ซึ่งเป็นการละเลยวัตร ละเลยหน้าที่ ไม่เอื้อเฟื้อต่อวัตรที่กำลังประพฤติอยู่และกระทำผิดต่อพุทธบัญญัติโดยตรง เช่น หาอุปัฎฐากเข้ามารับใช้ในขณะอยู่ประพฤติปริวาส เข้านอนร่วมชายคาเดียวกันกับภิกษุผู้อยู่ปริวาสหรือคณะสงฆ์ซึ่งเป็นอาจารย์กรรม หรือภิกษุผู้อยู่ปริวาสมีการนั่งบนอาสนะที่สูงกว่าอาสนะของคณะสงฆ์อาจารย์กรรม เหล่านี้ถือว่าเป็น "วัตตเภท”


    ข้อสังเกตุว่าสิ่งไหนเป็น รัตติเฉท หรือ วัตตเภท ตัวอย่างเช่น ภิกษุหนึ่งและภิกษุสอง เป็นเพื่อนสหธรรมิกไปอยู่ประพฤติปริวาสร่วมกัน เมื่อปฏิบัติกิจทางสังฆกรรมเสร็จแล้ว ภิกษุหนึ่งก็เข้ากลดแล้วนอนหลับไป ส่วนภิกษุสองนอนไม่หลับก็เข้าไปนอนเล่นในกลด ของภิกษุหนึ่ง แต่แล้วก็เผลอหลับไปจนสว่าง ซึ่งในกรณีนี้ภิกษุหนึ่งผิดในส่วนของรัตติเฉท อย่างเดียว ส่วนภิกษุสองผิดทั้งรัตติเฉทและวัตตเภท ซึ่งกรณีเช่นนี้ถือเจตนาเป็นใหญ่ ฝ่ายใดก่อเจตนา ฝ่ายนั้นเป็นทั้งรัตติเฉท และ วัตตเภท ส่วนฝ่ายที่ไม่มีเจตนา ฝ่ายนั้นเป็นเพียง รัตติเฉท แต่ถ้าจะว่าโดยละเอียด ทำไมภิกษุหนึ่งซึ่งไม่ได้มีเจตนา เหตุใดจึงเป็น รัตติเฉท ทั้งนี้ก็เพราะว่าเป็นการอยู่ร่วมในที่มุงบังอันเดียวกัน ถือว่าเป็น รัตติเฉททั้งสิ้น ไม่มีกรณียกเว้นถ้าไม่เก็บวัตร เพราะเงื่อนไขเป็น อจิตตกะ
   
  • สหวาโส
    "สหวาโส”แปลว่า“การอยู่ร่วม" ในความหมายนี้หมายเอาการเอนหลังนอนหลับ นั่นหมายถึงพระภิกษุผู้อยู่ประพฤติปริวาส อยู่ร่วมกับภิกษุผู้อยู่ปริวาสด้วยกัน หรือ อยู่ร่วมกับ คณะสงฆ์ผู้เป็นพระอาจารย์กรรม ในที่มุงบังเดียวกัน ในกลดเดียวกัน ในหลังคาเดียวกัน กุฏิเดียวกัน
              
    “
    การอยู่ร่วม”
    นั้นมีขอบเขต คือ ท่านหมายเอาการนอนอยู่ร่วมกันในที่มุงอันเดียวกัน ในทางสถานที่นั่นหมายถึงมีการทอดกายนอน คือถ้านอนร่วมกันภายใต้อาคารหรือสิ่งก่อสร้าง ทีมีหลังคาเดียวกัน ภิกษุย่อมไม่พ้นสหเสยยาบัติ คือ อาบัติเพราะการนอนร่วม(มนฺต.๒/๒๙๙)

    ซึ่งจะเห็นว่า การอยู่ร่วม คือ นอนร่วมกัน และท่านก็เพ่งเอาการทอดกายนอนเฉพาะตอน กลางคืนนั้นในที่มุงบังอันเดียวกัน หลังคาเดียวกัน ก็ไม่พ้นจากอาบัติเพราะการนอน คือมีการทอดกายนอน และคำว่าที่มุงบังอันเดียวกันนั้น ท่านก็หมายเอาแต่วัตถุที่เกิดขึ้นโดยวิทยาศาสตร์ เช่น ศาลาการเปรียญ กุฏิ โบสถ์ วิหาร ที่มนุษย์ใช้เครื่องมือสร้างขึ้น แต่มีข้อยกเว้นไม่รวมถึงที่มุงบังโดยธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ ป่าไม้ หากมีการกางกลดภายใต้ร่มไม้เดียวกันก็ไม่ถือว่าเป็นการอยู่ร่วมกัน เว้นแต่ใช้กลดหลังเดียว อยู่ร่วมกัน ก็ถือว่าเป็นการอยู่ร่วมกัน ดังนั้นจึงชี้ให้เห็นข้อแตกต่างของที่มุงบังเดียวกัน ซึ่งหากภิกษุสองรูปขึ้นไปอยู่ร่วมกัน ภิกษุรูปหนึ่งนั่งแต่ภิกษุอีกรูปหนึ่งนอน หรือ ภิกษุทั้งสองต่างนั่งอยู่ด้วยกันโดยไม่มีการทอดกายนอน ก็ถือว่าไม่เป็นอาบัติหรือรัตติเฉท ทั้งนี้ก็มีข้อแม้ว่าในศาลาที่ทำสังฆกรรมนั้นเป็นที่มุงบังหลังคาเดียวกัน แต่หากในขณะ เมื่ออยู่ปริวาสนั้นเกิดภัยทางธรรมชาติคุกคามแปรปรวน เช่น ฝนตก น้ำท่วม ลมแรง หรือมีการปฏิบัติธรรมร่วมกัน ก็อนุญาตให้อยู่ร่วมในศาลามุงบังนั้นได้ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่มีการทอดกายนอน พอใกล้จวนสว่างแล้วก็ให้ลุกออกไปเสียที่อื่น ให้พ้นจากที่มุงนั้น ให้ได้อรุณซึ่งกิริยาเช่นนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ออกไปรับอรุณ”

    ดังนั้นคำว่า “สหวาโส” ขึ้นอยู่กับการ นอน อย่างเดียวเท่านั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการนอน ไม่มีการเอนกาย ไม่ถือว่าเป็น สหวาโส

    จึงสรุปว่า แม้การร่วมทำสังฆกรรม ทำวัตรเช้าสวดมนต์เย็นร่วมปฏิบัติธรรมภายใต้ศาลาเดียวกัน โดยมีที่มุงบังก็ดีโดยไม่ได้เก็บวัตรก็ดี ทำกิจทุกอย่างร่วมกัน ภายในเต็นท์หรือปะรำที่สร้างขึ้น เพื่องานนั้นโดยไม่เก็บวัตรก็ด ีเข้าห้องน้ำ ห้องสุขาที่มีเครื่องมุงบังพร้อมกัน
    แม้จะเป็นหลังคาเดียวกันกับอาจารย์กรรมโดยไม่เก็บวัตรก็ดี ทั้งหมดนี้ไม่ถือเป็น สหวาโส ไม่มีผลกระทบแม้แต่น้อย และไม่เป็นอาบัติทุกกฎ เพราะวัตตเภทก็ไม่มี ทั้งนี้เพราะ กิจ ที่ทำนั้น ไม่ถือว่าเป็นการอยู่ร่วมกัน แต่เป็นการ ทำธุระ ร่วมกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งต่างกับการ
    “อยู่ร่วม” หรือ “สหวาโส”

   
  • ขอบเขตของ “สหวาโส” การ “อยู่ร่วม”
    เรื่องของสถานะ
    ภิกษุทุกรูปที่เข้าอยู่ประพฤติปริวาสนั้น เป็นผู้ตกอยู่ในข้อหาละเมิดสิกขาบท ซึ่งการอยู่ปริวาสนั้น เปรียบเหมือนกำลังพยายามออกจากสิกขาบทที่ละเมิด ดังนั้น ภิกษุผู้อยู่ประพฤติปริวาสนั้น แม้จะมีพรรษามากเท่าใดก็ตาม มีสมณศักดิ์สูงเพียงใดก็ตามก็จะต้องเคารพและให้เกียรติ ต่อคณะสงฆ์อาจารย์กรรมในเรื่องที่เป็นธรรมเป็นวินัย แม้สงฆ์ท่านนั้นจะเพิ่งบวชใหม่ แม้ในวันนั้นทุกรูปก็ตาม จะทำการคลุกคลีด้วยการฉันร่วม นั่งร่วมในอาสนะเดียวกันเกินขอบเขต ซึ่งทำให้เป็นวัตตเภทบ้าง รัตติเฉทบ้างไม่ได้ แต่ในส่วนนี้ก็ต้องยอมลดทิฎฐิและสถานะสมณศักดิ์ลงต่อคณะสงฆ์และอาจารย์กรรม แต่สำหรับพระภิกษุผู้อยู่ประพฤติปริวาสด้วยกันแล้วก็ยังคงรักษาพรรษาไว้ และยังคงต้องนั่งตามลำดับพรรษาดังเดิม และพระเถระที่เคยมีอุปัฏฐากอยู่ที่วัด พอมาอยู่ปริวาส ท่านจะมีอุปัฏฐากเช่นนั้นไม่ได้ ซึ่งในข้อนี้มีพระบาลีความว่าเป็นอาบัติทุกกฎ แก่ภิกษุผู้ยินดีแม้ของสัทธิวหาริก เป็นต้น พึงห้ามเขาว่าเรากำลังทำวินัยกรรมอยู่ พวกท่าน อย่าทำวัตรแก่เราเลย อย่าบอกลาเข้าบ้านกะเราเลย, จำเดิมแต่กาลที่ห้ามแล้วไม่เป็นอาบัติ (สมนฺต.๓/๒๘๒) ยกเว้นแต่ว่าเป็นกรณีพิเศษ คือ ท่านอาจจะไหว้วานชั่วคราว เช่น ฝากซื้อของเครื่องใช้ที่จำเป็นต้องใช้ในขณะอยู่ประพฤติปริวาส


    เรื่องของสถานที่ เช่น
    -ที่ฉันภัตตาหาร         
    -ที่เดินจงกรม             
    -ที่ปฏิบัติธรรม
    -ที่ทำสังฆกรรม  
    -ที่นอน
     
    -ที่ทำธุระส่วนตัว เช่น ห้องน้ำ ห้องสุขา

ทั้งหมดนี้ควรแยกสัดส่วนออกจากกัน คือ ส่วนไหนเป็นของคณะสงฆ์อาจารย์กรรม ส่วนไหนเป็นของพระภิกษุผู้อยู่ประพฤติปริวาส ก็ต้องแยกจากกันให้เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้เกียรติแก่คณะสงฆ์อาจารย์กรรมและ เพื่อความนอบน้อมสำหรับภิกษุผู้อยู่ประพฤติปริวาส

 
  • วิปวาโส
    “วิปวาโส” หรือ การอยู่ปราศ  หมายถึง การอยู่ปราศจากคณะสงฆ์อาจารย์กรรม การอยู่ประพฤติปริวาสนั้นจะอยู่กันเองตามลำพังโดยปราศจากอาจารย์กรรมไม่ได้โดยเด็ดขาด อย่างน้อยก็ต้องมีอาจารย์กรรม นั่นคือต้องใช้คณะสงฆ์อาจารย์กรรม ๑ รูป สำหรับการอยู่ประพฤติปริวาส และ ๔ รูป สำหรับมานัต ทั้งนี้เพื่อจะได้คุ้มกรรมไว้ ส่วนเหตุอื่นที่จะเป็น วิปวาโสได้นั้น ก็คือ ถึงแม้จะมีคณะสงฆ์อาจารย์กรรมอยู่ด้วย แต่มีกำหนดขอบเขต ของวิปวาโสไว้ว่า ถ้าหากพระภิกษุผู้อยู่ประพฤติปริวาสนั้น อยู่ไกลเกินกำหนด ซึ่งกำหนดของวิปวาโสนี้ ท่านบอกว่า ๒ ชั่วเลฑฑุบาตร คือ เอาคนมีอายุปานกลางและมีกำลัง ขว้างก้อนดินตกลง ๒ ชั่วเลฑฑุบาตร คือ ขว้างก้อนดินต่อกัน ๒ ครั้งนั่นเอง (เท่ากับขว้างครั้งแรกตกลงที่ใดแล้วก็ยืนตรงจุดที่ดินตก แล้วก็ขว้างครั้งที่สอง ไกลออกไปเท่าใด ก็ถือเอาจุดนั้นเป็นเขตกำหนด) ซึ่งจุดศูนย์กลางของ ๒ เลฑฑุบาตรนี้ ให้ยึดเอาจุดที่คณะสงฆ์์พระอาจารย์กรรมอยู่กัน แล้วก็ให้วัดขอบเขตไปที่ภิกษุผู้ปักกลดองค์แรก ที่อยู่ใกล้อาจารย์กรรมที่สุดนั้นเป็นเกณฑ์ ส่วนภิกษุท่านอื่นๆ ก็ถือว่าปักกลดอยู่ต่อๆ กันไป เหมือนดั่งยังอยู่ในหัตถบาสเหมือนที่ลงสวดพระปาติโมกข์ในโบสถ์ ซึ่งองค์แรกอยู่ในหัตถบาส องค์ต่อไปก็นั่งเรียงลำดับกันไป ซึ่งการกำหนดขอบเขตนี้ ก็ขึ้นอยู่ที่คณะสงฆ์ อาจารย์กรรมท่านเป็นผู้ชี้เขต และอนุญาตให้อยู่ได้ ซึ่งการอยู่ปราศนั้น ก็คือ ห้ามอยู่โดยปราศจากอาจารย์กรรม ถึงแม้ภิกษุท่านจะเจ็บไข้ได้ป่วย มีเหตุให้ต้องไปนอนโรงพยาบาล ตราบใดที่ภิกษุยังนอนรักษาตัวอยู่ ก็ต้องมีอาจารย์กรรมไปเฝ้าไข้คลอดเวลา อย่าให้เกินสองเลฑฑุบาตรไป
  • อนาโรจนา
    “อนาโรจนา” แปลว่า การไม่บอก หมายถึง การไม่บอกวัตร หรือบอกอาการที่ตนประพฤติแก่คณะสงฆ์อาจารย์กรรมในสำนักที่ตนอยู่ประพฤติปริวาสนั้น
    การบอกวัตรของปริวาสตามหลักพระวินัย เมื่อขอปริวาสแล้ว จะต้องบอกวัตรแก่คณะสงฆ์อาจารย์กรรมเพียงครั้งเดียว จะอยู่ไปจนครบ ๓ ราตรีก็ได้


  • อูเน คเณ จรณํ  คือ การประพฤติวัตรในคณะอันพร่อง หมายถึง การประพฤติวัตรของพระมานัตในที่ที่มีสงฆ์ไม่ครบ ๔ รูปตามพระวินัยกำหนด เช่นนี้ถือว่า ประพฤติวัตรในคณะอันพร่อง ซึ่งจะทำให้การนับราตรีเป็นโมฆะ นับราตรีไม่ได้

มานัต
หรือการนับราตรี มี ๔ อย่าง คือ

  • อัปปฏิจฉันนมานัต คือ เป็นมานัตที่ภิกษุไม่ต้องอยู่ปริวาส สามารถขอมานัตได้เลย ยกเว้นพวกเดียรถีย์ต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน
  • ปฏิฉันนมานัต คือ มานัตที่ให้แก่ภิกษุผู้ปิดอาบัติไว้ หรือมิได้ปิดไว้ก็ตาม
  • ปักขมานัต คือ มานัตที่ให้แก่ภิกษุณี ๑๕ ราตรีเท่านั้น(ครึ่งปักษ์) จะปิดอาบัติไว้หรือไม่ปิดไว้ก็ตาม
  • โมธานมานัต คือ มานัตที่มีไว้เพื่ออาบัติที่ประมวลเข้าด้วยกันอันเนื่องมาจากสโมธานปริวาสนั้น ซึ่งสโมธานมานัตนี้เป็นมานัตที่สงฆ์นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน
   

 

ระเบียบขั้นตอนการประพฤติวุฒฐานวิธี
 

 

๒.ความหมายของปริวาส
ประเภทของปริวาสกรรม
ปริวาสสำหรับสงฆ์-คฤหัสถ์
ขั้นตอนการประพฤติวุฒฐานวิธี

อ่านต่อ >>

๓.ประเภทของปริวาส
อัปปฏิฉันนปริวาส
ปฏิฉันนปริวาส
สโมธานปริวาส
สุทธันตปริวาส
 
อ่านต่อ >>
 
   
 
 
 
   
๔.เงื่อนไขของปริวาส
รัตติเฉท-วตตเภท
สหวาโส-วิปวาโส
อนาโรจนา
อ่านต่อ >>
๕.วัตร..บอกวัดร-เก็บวัตร
การสมาทานวัตร
การบอกวัตร
การเก็บวัตร
อ่านต่อ >>
 
   
 
   
 
 
๖.ขึ้นมานัต
สหวาโส -วิปปวาโส
อนาโรจนา-อูเน คเณ จรณํ
การขอหมู่-สวดหมู่
การขอหมู่-สวดเดี่ยว
การขอเดี่ยว-สวดเดี่ยว

อ่านต่อ>>
๗.คำขอปริวาสกรรม
คำขอสุทธันตะอย่างจุลสุทธันตะ
กรรมวาจาให้สุทธันตปริวาส

คำสมาทานปริวาส
คำบอกสุทธันตปริวาส
การเก็บปริวาส
อ่านต่อ >>
 
   
 
 
 
   
๘.การขอมานัต
คำขอสุทธันตขอมานัต
กรรมวาจาให้มานัต
คำสมาทานมานัต
คำบอกมานัต
คำเก็บมานัต

อ่านต่อ >>
๙.การขออัพภาน
คำขออัพภาน
กรรมวาจาให้อัพภาน

อ่านต่อ>>
 
   

 
 

ภาพกิจกรรมภายในวัด
หลวงพ่อถวิล จนฺทสโร เมตตานำพระภิกษุสงฆ์ รับบิณฑบาตจากอุบาสก-อุบาสิกา ทุกเช้าภายในวัด เวลา ๐๗.๕๐ น.
อ่านต่อ>>

ภัตตาหาร-น้ำปานะบริการ..ฟรี
มีภัตตาหารถวายพระ
และบริการญาติธรรม
ตลอดงานปฏิบัติธรรม
อ่านต่อ>>
 
   
 
 
 
   

แทนปักกลด ๒๐๐ แท่น
มีแท่นปูนสำหรับให้พระภิกษุสงฆ์ปักกลด
เพื่อป้องกันน้ำฝนไหลเข้าเต้นท์ที่พัก
อ่านต่อ>>

อาคารที่พักญาติธรรม
มีอาคารที่พักของญาติธรรม ที่ไปร่วมปฏิบัติธรรมแยกต่างหากเป็นสัดส่วน
ห้องน้ำ-ห้องสุขา

มีห้องน้ำ-ห้องสุขาภายในวัดประมาณ ๑๐๐ ห้อง สะอาด สดวก ปลอดภัย อ่านต่อ>>
 
   
 
ชมภาพการปฏิบัติธรรม  
 













            
วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ
ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ ประจำจังหวัดเชียงราย
ศูนย์พัฒนาคุณธรรม-จริยธรรมประจำจังหวัดเชียงราย
๓๙๕ หมู่ ๑๑ ตำบลธารทอง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ๕๗๒๕๐
โทรศัพท์ (๐๕๓)๑๘๔ ๓๒๕ โทรสาร (๐๕๓)๑๘๔ ๓๒๕

website : www.watthumpra.com
email : watthumprachiangrai@gmail.com