วันมาฆบูชา มาฆะ เป็นชื่อเรียกของเดือน ๓ ส่วนคำว่า มาฆบูชา ย่อมาจากคำว่า มาฆปุรณมีบูชา แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๓ ดังนั้น วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (หรือขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ในปีอธิกมาส) ถือเป็น"วันจาตุรงคสันนิบาต นับจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้มาเป็นเวลา ๙ เดือนแล้ว เมื่อถึงวันเพ็ญกลางเดือน ๓ พระองค์ได้เสด็จไปประทับ ณ เวฬุวนาราม เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ครั้งนั้นได้มีพระอรหันต์ จำนวน ๑,๒๕๐ รูป ซึ่งแบ่งเป็นพระอรหันต์ที่อยู่ในคณะของพระอุรุเวล กัสสปเถระ พระนทีกัสสปเถระ และพระคยากัสสปเถระ รวม ๑,๐๐๐ รูป กับพระอรหันต์ที่อยู่ในคณะ ของพระสารีบุตรเถระ และพระโมคคัลลานะเถระ ๒๕๐ รูป รวมทั้งสองคณะเป็น ๑,๒๕๐ รูป ได้พร้อมกันไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การมาประชุมใหญ่ของพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ในครั้งนี้ถือว่าเป็นเหตุการณ์มหัศจรรย์ในสมัยพุทธกาล จึงเรียกเหตุการณ์ในคราวนั้นว่าจาตุรงคสันนิบาต"แปลว่า ความประชุมประกอบด้วยองค์ ๔" ในอรรถกถาทีฆนขสูตร ได้แสดงไว้ว่า องค์ ๔ คือ พระสาวกที่มาประชุมกันเป็นมหาสันนิบาต นั้นคือ
การมาประชุมใหญ่ของพระอรหันต์สาวกโดยมิได้มีการนัดหมายในครั้งนั้น พระพุทธเจ้าทรงเห็นเป็นนิมิตอันดีจึงได้เสด็จท่ามกลางพระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปเหล่านั้น และได้ทรงประทานพระโอวาทที่เรียกว่า โอวาทปาติโมกข์ (พุทธ.๒/๕-๖) มหาสันนิบาตนี้ได้มี ณ เวฬุวันวนาราม ในวันมาฆปุณณมี ในอรรถกถาแห่งพระสูตรดังกล่าว(ป.สู. ๓/๑๙๗) ได้กล่าวว่ามหาสันนิบาตนั้นได้มีในวันที่ พระสารีบุตร สำเร็จเป็นพระอรหันต์ คือ เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมแก่ปริพาชกชื่อ ทีฆนขะ พระสารีบุตรได้นั่งถวายงานพัด ได้ฟังอยู่ด้วย เมื่อทรงแสดงธรรมจบแล้วพระสารีบุตรก็มีจิตพ้นจากอาสวะในขณะนั้นเวลายังเป็นกลางวันอยู่ พระพุทธเจ้าจึงได้เสด็จลงจากเขาคิชกูฏและเสด็จมาสู่พระเวฬุวัน ก็ทรงแสดงพระโอวาทในมหาสันนิบาต ดังกล่าวนั้นในวันมาฆปุณณมี ซึ่งเหตุการณ์นี้แสดงว่าท่านพระสารีบุตรได้เป็นผู้เสร็จกิจในวันมาฆปุณณมีนั้น คือในวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง พระโอวาทปาติโมกข์ โอวาทปาติโมกข์ โอวาทปาติโมกข์ ๏ สพฺพปาปสสฺ อกรณ ํ พระโอวาทในข้อนี้ เป็นเหมือนคำอธิบายประกอบของโอวาทที่เป็นหลัก ๓ ข้อดังกล่าว มีข้อสังเกตคือ ในเวลานั้นพระพุทธเจ้ายังไม่ได้ทรงบัญญัติพระวินัยปาติโมกข์ ฉะนั้นที่ตรัสให้สำรวมในพระปาติโมกข์จึงมีความหมายคือ ปาติโมกข์ที่เป็นตัวแบบฉบับอันควรทีสมณะจะพึงปฏิบัติโดยทั่วไป พระโอวาททั้งหมดนี้เรียกว่า พระโอวาทปาติโมกข์ ปาติโมกข์ที่เป็นโอวาทพระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระอรหันต์ทั้งนั้น จึงมิได้มุ่งที่จะอบรมให้ท่านบรรลุมรรคผล แต่ว่ามุ่งที่จะวางแนวพระพุทธศาสนา เบื้องต้นก็ชี้ถึงวาทะของพระพุทธะ ๓ ข้อ ต่อมาก็วางหลักปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างกว้างๆ ไว้ ๓ ข้อ และมีคำอธิบายประกอบเล็กน้อย ท่านแสดงว่าในวันอุโบสถวันพระจันทร์เพ็ญและวันพระจันทร์ดับ (วันพระข้างขึ้น ๑๕ ค่ำ และข้างแรม ๑๕ ค่ำ) พระพุทธเจ้าได้ประทับเป็นประธานหมู่พระสงฆ์แล้วก็ทรงแสดงพระโอวาทปาติโมกข์ขึ้นด้วยพระองค์เองทุก ๑๕ วัน แปลว่า ทรงทำอุโบสถร่วมด้วยภิกษุสงฆ์แล้วก็เรียกว่า ปาริสุทธิอุโบสถ คือ เป็นอุโบสถที่บริสุทธิ์ พระพุทธเจ้าก็ทรงบริสุทธิ์ พระสงฆ์ก็บริสุทธิ์ จนถึงมีเรื่องที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมามีเล่าไว้ในบาลีวินัย (วิ.จุลฺล. ๗/๒๘๓/๔๔๗-๘; ขุ.อุ. ๒๕/๑๕๐/๑๑๖.) ว่าพระสงฆ์มาประชุมพร้อมกันแล้วพระพุทธเจ้าก็ไม่เสด็จลงมา จึงถึงเวลา ๑ ยาม พระอานนท์จึงไปทูลเตือนว่ายามหนึ่งแล้วพระมานั่งรออยู่นานแล้ว ขอให้เสด็จลงทรงสวดปาติโมกข์ พระพุทธเจ้าก็ไม่เสด็จลง ครั้นถึงยามที่ ๒ พระอานนท์ก็ไปทูลเตือนอีกพระพุทธเจ้าก็ไม่เสด็จลง ครั้นถึงยามที่ ๓ พระอานนท์ก็ไปทูลเตือนอีกพระพุทธเจ้าก็ไม่เสด็จลง แต่ว่าในยามที่ ๓ นี้ได้มีพระพุทธดำรัสว่าบริษัทไม่บริสุทธิ์ คือว่ามีพระทุศีลมาปนอยูู่่ด้วย พระโมคคัลลานะจึงได้เที่ยวตรวจดู เมื่อไปพบภิกษุที่ทุศีลก็บอกให้ออกไปจากที่ประชุมผู้นั้นก็ไม่ยอมออกไป ต้องฉุดแขนออกไป แต่ก็สว่างเสียแล้วพ้นเวลาที่จะทำอุโบสถก็เป็นอันว่าในอุโบสถนั้นไม่ได้ทำ(การสวดปาติโมกข์) พระพุทธเจ้าจึงทรงปรารภเรื่องนี้้(วิ.จุลฺล. ๗/๒๙๒/๔๖๖) ตรัสให้พระสงฆ์ยกเอาพระวินัยที่ทรงบัญญัติขึ้นไว้มาสวดเป็นปาติโมกข์แทน และให้พระสงฆ์สวดกันเอง พระพุทธเจ้าไม่เสด็จลงมาทำอุโบสถร่วมด้วยอีกต่อไป เพราะฉะนั้นจึงมีการยกเอาวินัยขึ้นสวดเป็นปาติโมกข์ทุกๆ ๑๕ วัน สืบต่อมาจนบัดนี้ ปาติโมกข์ที่ยกเอาพระวินัยขึ้นสวดนี้เรียกว่า วินัยปาติโมกข์ (ซึ่งก็คือคัมภีร์รวมวินัยสงฆ์ ๒๒๗ ข้อ ซึ่งต้องสวดทบทวนในที่ประชุมสงฆ์ หรือการลงอุโบสถทุกกึ่งเดือนในวันพระ)
ธรรมเนียมปฏิบัติในวันมาฆบูชา
ธรรมเนียมราษฏร์ การประกอบพิธีมาฆะบูชาได้เริ่มในพระบรมมหาราชวังในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้จัดให้มีพิธีการ พระราชกุศล ในเวลาเช้าพระสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหาร และวัดราชประดิษฐ์ ๓๐ รูป ฉันในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดารามเวลาค่ำ เสด็จออกทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการแล้ว พระสงฆ์ สวดทำวัตรเย็น เสร็จแล้วสวดมนต์ต่อไป มีสวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ด้วยสวดมนต์จบทรงจุดเทียน รายตามราวรอบพระอุโบสถ ๑,๒๕๐ เล่ม มีการประโคมอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงมีการเทศนา โอวาทปาติโมกข์ ๑ กัณฑ์ เป็นทั้งเทศนาภาษาบาลีและภาษาไทย เครื่องกัณฑ์ มีจีวรเนื้อดี ๑ ผืน เงิน ๓ ตำลึง และขนมต่างๆ เทศนาจบพระสงฆ์ซึ่งสวดมนต์ ๓๐ รูป สวดรับ การประกอบพระราชกุศลเกี่ยวกับวันมาฆบูชาในสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว จะเสด็จออกประกอบพิธีด้วยพระองค์เองทุกปีมิได้ขาด สมัยต่อมามีการเว้นบ้างเช่น รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จออกเองบ้างหรือบางครั้งก็มิได้เสด็จ ออกเอง เพราะมักเป็นช่วงเวลาที่พอดีีกับการเสด็จประพาสหัวเมือง แต่หากวันดังกล่าวตรงกับช่วง ที่เสด็จไปประพาสบางปะอิน หรือพระพุทธบาทพระพุทธฉาย พระปฐมเจดีย์ พระแท่นดงรังก็จะทรง ประกอบพิธีมาฆบูชาในสถานที่นั้น ๆ ขึ้นอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากในพระบรมมหาราชวัง เดิมทีมีการประกอบพิธีในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาได้ขยายออกไปให้พุทธบริษัทได้ปฏิบัติตาม อย่างเป็นระบบสืบมาจนปัจจุบันมีการบูชาด้วยการเวียนเทียน และบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ ส่วนกำหนดวัน ประกอบพิธีมาฆบูชานั้น ปกติตรงกับวันเพ็ญเดือน ๓ หากปีใดเป็นอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน จะเลื่อนไปตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔ เมื่อวันมาฆบูชาเวียนมาบรรจบในแต่ละรอบปี พุทธบริษัทจะร่วมกันประกอบศาสนพิธี ซึ่งการ ปฏิบัตินั้นจะดำเนินไปเช่นเดียวกับวันวิสาขบูชา แต่ในวันนี้พระสงฆ์จะแสดงพระธรรมเทศนา ในเรื่องโอวาทปาฏิโมกข์
|
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ
ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ ประจำจังหวัดเชียงราย ศูนย์พัฒนาคุณธรรม-จริยธรรมประจำจังหวัดเชียงราย ๓๙๕ หมู่ ๑๑ ตำบลธารทอง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ๕๗๒๕๐ โทรศัพท์ (๐๕๓)๑๘๔ ๓๒๕ โทรสาร (๐๕๓)๑๘๔ ๓๒๕ website : www.watthumpra.com email : watthumprachiangrai@gmail.com |